นิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (ดิจิทัลมัลติมีเดีย)
Bachelor of Communication Arts Program in Communication Arts (Digital Multimedia)

หมวดที่ 1 

ข้อมูลทั่วไป

1.  รหัสและชื่อหลักสูตร

รหัสหลักสูตร          :       25521431103191

ภาษาไทย              :       หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชานิเทศศาสตร์

ภาษาอังกฤษ          :       Bachelor of Communication Arts Program in Communication Arts

2.  ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ภาษาไทย)    :       นิเทศศาสตรบัณฑิต (นิเทศศาสตร์)

ชื่อย่อ (ภาษาไทย)     :       นศ.บ. (นิเทศศาสตร์)

ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ) :       Bachelor of Communication Arts  (Communication Arts)

ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ) :       B.Com.Arts (Communication Arts)

3.  วิชาเอก/แขนงวิชา

            แขนงวิชาดิจิทัลมัลติมีเดีย (Digital Multimedia)

 4.  จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร

ไม่น้อยกว่า 124  หน่วยกิต

5.  รูปแบบของหลักสูตร

5.1  รูปแบบ

หลักสูตรระดับปริญญาตรี หลักสูตร  4  ปี

5.2 ประเภทของหลักสูตร

     หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

 

 

6. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัติ / เห็นชอบหลักสูตร

         þ สถานภาพของหลักสูตร  หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565 โดยปรับปรุงจากหลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

          การพิจารณาอนุมัติ/เห็นชอบหลักสูตร  

         þ  สภาวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ให้ความเห็นชอบการปรับปรุงหลักสูตร ในคราวประชุม ครั้งที่  4/2565    เมื่อวันที่  8  เดือน  เมษายน   พ.ศ.  2565  

         þ  สภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ได้ให้ความเห็นชอบหลักสูตร  ในคราวประชุม

ครั้งที่  5/2565    เมื่อวันที่  20  เดือน  พฤษภาคม   พ.ศ.  2565

         กำหนดเปิดสอน  กำหนดเปิดสอนในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565

 

 หมวดที่ 3

ปรัชญา วัตถุประสงค์ และผลลัพธ์การเรียนรู้

 

1. ปรัชญา   

           หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มุ่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะที่สามารถบูรณาการความรู้ด้านการสื่อสารกับเทคโนโลยีสื่อยุคดิจิทัลอย่างเหมาะสม สามารถบูรณาการความรู้ด้านการสื่อสารกับเทคโนโลยีสื่อยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ และมีทักษะการเป็นผู้ประกอบการสื่อ เป็นนวัตกรมืออาชีพเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองต่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนด้วยแนวทางของการพัฒนาหลักสูตรเชิงพื้นที่ รองรับการพลิกโฉมประเทศไทยสู่สังคมก้าวหน้า เศรษฐกิจสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืน

          

2. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มีวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตดังนี้

2.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่เป็นนวัตกรมืออาชีพทางด้านสื่อ โดยมีความรู้และทักษะในการสร้างสรรค์เนื้อหาที่สอดคล้องกับเทคโนโลยีการสื่อสารที่เหมาะสม สามารถบูรณาการความรู้ด้านการสื่อสารกับเทคโนโลยีสื่อยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ  

2.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีแนวคิดและทักษะความสามารถในการเป็นผู้ประกอบการด้านการสื่อสาร ซึ่งต้องมีความรู้ในการบูรณาการด้านการผลิตเนื้อหา การบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร เพื่อเป็นผู้ประกอบการสื่อในระดับท้องถิ่นและภูมิภาคที่มีคุณภาพ

2.3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพนิเทศศาสตร์และท้องถิ่น สามารถรู้เท่าทันและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี ตลอดจนมีความรับผิดชอบในผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ

   

3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน

 

3.1. หลักสูตร

3.1.1. จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                   

        จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า  124 หน่วยกิต

3.1.2. โครงสร้างหลักสูตร

โครงสร้างหลักสูตรแบ่งออกเป็นหมวดวิชาดังนี้

              1) หมวดวิชาการศึกษาทั่วไป (General Education) ให้เรียนไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต

1. กลุ่มวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

2. กลุ่มวิชาภาษและการสื่อสาร  ให้เรียนไม่น้อยกว่า                      12  หน่วยกิต

3. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  ให้เรียนไม่น้อยกว่า                9  หน่วยกิต

4. กลุ่มวิชาบูรณาการและเสริมสร้างทักษะชีวิต  ให้เรียนไม่น้อยกว่า          3  หน่วยกิต

              2) หมวดวิชาเฉพาะ (Field of Specification)                          88  หน่วยกิต

    1. กลุ่มวิชาแกน  ให้เรียน                                            30 หน่วยกิต

    2. กลุ่มวิชาเอก   ให้เรียนไม่น้อยกว่า                                51 หน่วยกิต

–  เอกบังคับ  ให้เรียน                                             30 หน่วยกิต

–  เอกเลือก   ให้เรียนไม่น้อยกว่า                                 21 หน่วยกิต

     3. กลุ่มวิชาปฏิบัติการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา   7 หน่วยกิต

3) หมวดวิชาเลือกเสรี (Free Electives)  ให้เรียนไม่น้อยกว่า              6 หน่วยกิต

4) หมวดวิชาโท แขนงวิชาการจัดการและสร้างสรรค์คอนเทนต์ เรียนไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต

*สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอื่นที่เลือกเรียนแขนงวิชาการจัดการและสร้างสรรค์คอนเทนต์เป็นวิชาโท

  

หมวดวิชาเฉพาะ (Field of Specification)   ให้เรียนไม่น้อยกว่า  88  หน่วยกิต

o  กลุ่มวิชาแกน (Core Courses)           30  หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

น(ท-ป-อ)

COM1101

หลักนิเทศศาสตร์

Principles of Communication Arts

3(3-0-6)

COM1110

การถ่ายภาพดิจิทัล

Digital Photography

3(2-2-5)

COM1111

การประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัล

Public Relations Digital Age

3(3-0-6)

COM1206

ศิลปะแห่งการสร้างสรรค์เนื้อหา

Art of Content Creation

3(2-2-5)

COM2101

ภูมิทัศน์สื่อ

Media Landscape

3(2-2-5)

COM2201

ภาษาอังกฤษเพื่องานนิเทศศาสตร์

English for Communication Arts

3(3-0-6)

COM2202

บุคลิกภาพสำหรับนักนิเทศศาสตร์

Personality for Communication Arts

3(2-2-5)

COM2203

กฎหมายและจริยธรรมทางนิเทศศาสตร์

Laws and Ethics of Communication Arts

3(3-0-6)

COM3901

การวิจัยนิเทศศาสตร์

Research in Communication Arts

3(2-2-5)

COM4101

การเป็นผู้ประกอบการสื่อในยุคดิจิทัล

Media Entrepreneurs in Digital Age

3(2-2-5)

         

  

  o   กลุ่มวิชาเอก (Specification Courses)         51        หน่วยกิต

                            ก. ให้เลือกเรียนรายวิชาในแขนงวิชาใดแขนงวิชาหนึ่งเพียงแขนงวิชาเดียวให้ได้จำนวนหน่วยกิตไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต จากแขนงวิชาดังต่อไปนี้

 

3) แขนงวิชาดิจิทัลมัลติมีเดีย (Digital Multimedia)

วิชาเอกบังคับ ให้เรียนรายวิชาต่อไปนี้       30  หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

น(ท-ป-อ)

DM2103

การออกแบบเนื้อหาและเล่าเรื่องทางสื่อดิจิทัล

Content Creation and Storytelling for Digital Media

3(2-2-5)

DM2104

หลักการออกแบบสำหรับสื่อดิจิทัล

Principles for Digital Media Design

3(2-2-5)

DM2105

การวิเคราะห์ผู้รับสารยุคดิจิทัล

Audience Analysis in Digital Age

3(2-2-5)

DM2205

การผลิตสิ่งพิมพ์ดิจิทัล

Digital Printing Production

3(2-2-5)

DM2206

การสร้างสรรค์องค์ประกอบการผลิตรายการทางสื่อดิจิทัล

Creation of Digital Media Program Production Elements

3(2-2-5)

DM2304

กลยุทธ์การใช้สื่อดิจิทัลเพื่อสื่อสารการตลาด

Digital Media Strategy for Marketing Communication

3(2-2-5)

DM3102

การสร้างสรรค์รายการวิทยุและโทรทัศน์ทางสื่อดิจิทัล

Broadcasting Creation for Digital Media

3(2-2-5)

DM3103

จริยธรรมสื่อยุคดิจิทัล

Media Ethics in Digital Age

3(2-2-5)

DM3204

แอนิเมชั่นสำหรับสื่อดิจิทัล

Animation for Digital Media

3(2-2-5)

DM3401

สัมมนาประเด็นสื่อดิจิทัล

Seminar in Digital Media Issues

3(2-2-5)

 

 วิชาเอกเลือก  ให้เลือกเรียนรายวิชาต่อไปนี้ไม่น้อยกว่า 21 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

หน่วยกิต

น(ท-ป-อ)

DM1203

การผลิตภาพยนตร์

Film Production

3(2-2-5)

DM2207

การคิดสร้างสรรค์เพื่อการสื่อสาร

Creative Thinking for Communication

3(2-2-5)

DM2208

วิทยาการข้อมูลสำหรับงานนิเทศศาสตร์

Data Science for Communication Arts

3(2-2-5)

DM2303

การผลิตสื่อเทคโนโลยีเสมือนผสานกับโลกจริง

Augmented Reality Production

3(2-2-5)

DM2305

ผู้ประกอบการและนวัตกรรมธุรกิจสื่อ

Entrepreneurship and Innovation for Media Business

3(2-2-5)

DM3104

วารสารศาสตร์และการสื่อข่าว

Journalism and News Reporting

3(2-2-5)

DM3203

คอมพิวเตอร์กราฟิกสำหรับสื่อดิจิทัล

Computer Graphic for Digital Media

3(2-2-5)

DM3205

การออกแบบและผลิตเว็บ

Web Design and Authoring

3(2-2-5)

DM3212

 

การถ่ายทอดสดทางสื่อดิจิทัล

Live Streaming on Digital Media

3(2-2-5)

DM3213

 

การใช้อากาศยานไร้คนขับเพื่อสร้างสรรค์เนื้อหา  

Drone for Content Creation

3(2-2-5)

DM3214

การสร้างสรรค์และการจัดการกิจกรรมพิเศษ

Event Creation and Production

3(2-2-5)

DM3302

การผลิตรายการข่าวทางสื่อดิจิทัล

News Production for Digital Media

3(2-2-5)

DM3306

การสื่อสารในภาวะวิกฤติ

Crisis Communication

3(2-2-5)

DM3402

โครงการพิเศษด้านสื่อดิจิทัล

Special Project in Digital Media

3(2-2-5)

DM3404

การผลิตอินโฟกราฟิก

Infographic Production

3(2-2-5)

DM3405

การสื่อสารตราสินค้ายุคดิจิทัลสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

Brand Communication in Digital Age for Small and Medium Enterprises

3(2-2-5)

DM3406

วิศวกรสังคมกับการสื่อสารเพื่อการพัฒนา

Social Engineer and Communication for Development

3(2-2-5)

DM4201

การผลิตรายการบันเทิงทางสื่อดิจิทัล

Entertainment Production for Digital Media

3(2-2-5)

DM4202

การสร้างอินฟลูเอนเซอร์ผ่านสื่อดิจิทัล

Influencer on Digital Media

3(2-2-5)

DM4203

กลยุทธ์การสร้างสรรค์เนื้อหาบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

Content Creation Strategy on Smartphones

3(2-2-5)

  

ค. หมวดวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ/สหกิจศึกษา 7 หน่วยกิต

 

o   กลุ่มวิชาปฏิบัติการ ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ หรือสหกิจศึกษา ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาในกลุ่มวิชาใดกลุ่มวิชาหนึ่งต่อไปนี้   7 หน่วยกิต

o    วิชาฝึกฝึกประสบการณ์วิชาชีพหรือสหกิจศึกษา   7 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

น(ท-ป-อ)

PEC3802

การเตรียมฝึกประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์

Preparation for Professional Experience in Communication Arts

2(90)

FEC4802

การฝึกประสบการณ์วิชาชีพนิเทศศาสตร์

Field Experience in Communication Arts

5(450)

  หรือ   สหกิจศึกษา        7 หน่วยกิต

รหัสวิชา

ชื่อวิชา

จำนวนหน่วยกิต

น(ท-ป-อ)

FEC4803

สหกิจศึกษา

Co-Operative Education

7(540)

  หมวดวิชาเลือกเสรี (Free Electives) ให้เรียนไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต

ให้นักศึกษาเลือกเรียนรายวิชาใดๆ ในหลักสูตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย จำนวนไม่น้อยกว่า
6 หน่วยกิต
ซึ่งไม่ซ้ำกับรายวิชาที่เคยเรียนมาแล้วและต้องไม่เป็นรายวิชาที่กำหนดให้เรียนโดยไม่นับหน่วยกิตรวมในเกณฑ์การสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรนี้

Scroll to Top